วิธีช่วยคนขี้หลงขี้ลืม

        คนที่ขี้หลงขี้ลืมทั้งหลายโปรดฟังทางนี้ หลายคนที่มีอาการแบบนี้มักจะหงุดหงิดกับตัวเองอยู่เสมอและมักจะโทษตัวเองว่าทำไมตัวเองถึงลืมบ่อยทั้งๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ลืมส่งงาน ลืมเอกสาร ลืมตารางนัด จนไปถึงเรื่องยอดฮิตอย่าง จำไม่ได้ว่าล็อกประตูบ้านหรือยัง…

        คนที่ขี้หลงขี้ลืมทั้งหลายโปรดฟังทางนี้ หลายคนที่มีอาการแบบนี้มักจะหงุดหงิดกับตัวเองอยู่เสมอและมักจะโทษตัวเองว่าทำไมตัวเองถึงลืมบ่อยทั้งๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ลืมส่งงาน ลืมเอกสาร ลืมตารางนัด จนไปถึงเรื่องยอดฮิตอย่าง จำไม่ได้ว่าล็อกประตูบ้านหรือยัง วางโทรศัพท์ไว้ที่ไหน หรือลืมวันเกิดแฟน คนจำนวนมากเกิดคำถามว่าทำไมเราจึงจำไม่ได้ทั้งที่หลายเรื่องเป็นเรื่องสำคัญขนาดนี้ วันนี้เราจะมาเล่าสาเหตุ และมีวิธีแก้มาฝาก รับรองว่าชีวิตจะแฮปปี้ขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

        เรื่องราวทั้งหมดเริ่มจากชิ้นส่วนเล็กๆ ในสมองที่ชื่อ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่งคล้ายม้าน้ำ ทำหน้าที่คล้าย RAM ในคอมพิวเตอร์ ในเวลาที่มีเรื่องราวต่างๆ ผ่านเข้ามา ไอ้เจ้าฮิปโปแคมปัส ก็จะทำหน้าที่เซฟข้อมูลลงไปในสมองเป็นระยะๆ หากข้อมูลเหล่านั้นเราไม่ได้ไปข้องเกี่ยวกับมัน มันก็จะถูกลบออกไป ในที่สุดอย่างรวดเร็ว เช่น เวลาเราท่องหนังสือสอบ พอสอบเสร็จข้อมูลก็จะหายไปแทบไม่หลงเหลือ แต่หากเรากระทำกับข้อมูลนั้นซ้ำๆ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกบันทึกให้เป็นความจำแบบถาวร หรือเป็นความจำระยะยาวนั่นเอง ดังนั้นหากเราต้องการเอาชนะการหลงลืม เราต้องหาทางช่วยพี่ฮิปโปแคมปัสด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

 

ทบทวนก่อนนอน

ก่อนเข้านอนให้ค่อยๆ ทบทวนว่าในวันที่ผ่านมาคุณได้พบเจออะไรมาบ้างและมีสิ่งอะไรบ้างที่คุณต้องเตรียมตัวทำ จากนั้นเรียงลำกับเหตุการณ์ก่อนที่จะเข้านอนให้ครบ การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ระบบบันทึกข้อมูลซ้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการจัดระเบียบข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลเป็นระเบียบ ง่ายต่อการค้นหาเมื่อต้องการด้วย 

เช็กกระเป๋าทุกวัน

ขอให้คุณใช้เวลาสักหน่อยก่อนออกจากบ้าน ลองเปิดกระเป๋าและเช็กดูว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในนั้นได้ใช้มันหรือไม่ มีสิ่งอื่นใดเพิ่มเติมหรือขาดสำหรับวันนั้นรึเปล่า สิ่งของเล็กๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สมองไม่ค่อยจดจำ ทำให้เรานึกว่ามีของเหล่านี้ในกระเป๋าทั้งที่ในความจริงแล้วอาจไม่มี เป็นที่มาของการลืมสิ่งของที่สำคัญในแต่ละวัน 

จำได้ก็ต้องจด

วิธีง่ายๆ ที่เราอาจไม่ค่อยทำกันแล้ว ในแต่ละวันเรารับสารหรือฟังเรื่องราวต่างๆ มากมาย แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นเราจะจำได้ แต่เป็นเพียงแค่ความจำระยะสั้นเท่านั้น หากเราไม่ทำการย้ำข้อมูล ในที่สุดข้อมูลเหล่านั้นจะถูกลบไปอย่างอัตโนมัติ การจดบันทึกแม้เป็นเพียงแค่คีย์เวิร์ดสั้นๆ ที่สำคัญ ก็จะช่วยให้ข้อความหรือเรื่องราวเหล่านั้นติดทนนานยิ่งขึ้น หากบวกกับการทบทวนอีกก็จะกลายเป็นความจำระยะยาว

ด้วยวิธีการง่ายๆ เท่านี้ ก็จะทำให้การขี้หลงขี้ลืมของเราดีขึ้นจนไม่ต้องหงุดหงิดอีกต่อไป  

 

 

ที่มาข้อมูล : บทความวิชาการ Long-term memory for a common object โดย Nickerson, R.S. และ Adams, M. ในวารสาร Cognitive Psychology ปี 1979